ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทศบาลตำบลสะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ : 053-487014  หมายเลขโทรสาร (แฟกซ์) : 053-487397 
X ปิด
สายตรงนายก

ภารกิจผู้บริหาร

ร้องเรียน ทั่วไป

ร้องเรียน งานบุคคล

ร้องเรียนการทุจริต







E-Learning

ศูนย์ดำรงธรรม

ระบบสถิติการเกิดอบัติเหตุ

คู่มือประชาชน

ข่าวสารอาเซียน

ประกาศจากกรมบัญชีกลาง EGP



ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 30/04/2558
วันนี้
33
เมื่อวานนี้
35
เดือนนี้
2,256
เดือนที่แล้ว
2,518
ปีนี้
25,592
ปีที่แล้ว
27,856
ทั้งหมด
147,740
ไอพี ของคุณ
34.204.181.91
ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป

1. สภาพทั่วไป


1.1 ประวัติความเป็นมา
   

     เทศบาลตำบลสะเมิงใต้ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล โดยใช้ชื่อว่า สุขาภิบาลสะเมิงใต้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาล เป็น เทศบาล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จึงได้ชื่อว่าเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ และเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 มีพระราชกฤษฎีกายุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลสะเมิงใต้กับเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ ซึ่งทำให้มีเขตพื้นที่รับผิดชอบเต็มพื้นที่

 

1.2 ลักษณะที่ตั้ง
    เทศบาลตำบลสะเมิงใต้ อยู่ในเขตอำเภอสะเมิง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 45 กิโลเมตร โดยทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1096 มีพื้นที่ทั้งหมด 208 ตารางกิโลเมตร เป็นเทศบาลขนาดกลาง

 

1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
     ภูมิประเทศของเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ มีลักษณะเป็นป่าไม้และภูเขา มีลำน้ำสำคัญไหลผ่าน คือ น้ำแม่ขาน และแม่น้ำแม่สะเมิง

 

1.4 อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ     ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ฟากตะวันตกของถนนไปตำบลสะเมิงเหนือ ตรงที่อยู่ห่างจากวัดกองขากหลวงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 500 เมตร หลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศ

- ตะวันออกเฉียงใต้ ถึงถนนสายสะเมิง - แม่ริม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 9.500 ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2
 

- ทิศตะวันออก     จากหลักเขตที่ 2 ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงฝั่งตะวันตกของห้วยหมื่นตรงที่อยู่ห่างจากปากน้ำแม่ลานคำตอนที่จบกับห้วยหมื่น

- ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามฝั่งตะวันตกของห้วยหมื่น และฝั่งของน้ำแม่ขาน ไปทางทิศตะวัน

- ตกเฉียงเหนือ ถึงฝั่งใต้ของแม่น้ำแม่ขาน ตอนที่อยู่ห่างจากทางไปบ้านแม่สาบ ตรงที่บรรจบกับแม่น้ำแม่ขาน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นระยะ 400 เมตร

- ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงฝั่งเหนือของห้วยยาว ตอนที่ตัดกับถนนไปบ้านแม่สาบ ตรงที่บรรจุกับห้วยยาว ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5 จากเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนบรรจบกับหลักเขตที่ 1

 

1.5 เขตการปกครอง

  เทศบาลตำบลสะเมิงใต้  มีพื้นที่การปกครองครอบคลุมพื้นที่  11  หมู่บ้าน  ได้แก่

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน
1 บ้านแม่สาบ
2 บ้านน้ำริน
3 บ้านห้วยคอก
4 บ้านศาลา – ป่ากล้วย
5 บ้านทรายมูล
6 บ้านแม่ลานคำ
7 บ้านกองขากหลวง
8 บ้านกองขากน้อย
9 บ้านเหล่าแสนตอง
10 บ้านดงช้างแก้ว
11 บ้านป่าคา

 

1.6 จำนวนประชากร
     ประชากรทั้งสิ้น 5,169 คน แยกเป็น ชาย 2,608 คน หญิง 2,561 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 25 คน / ตารางกิโลเมตร (ดังตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ จำนวนครัวเรือน และข้อมูลประชากร

หมู่ที่ / บ้าน

ชาย

หญิง

รวม

ครัวเรือน

หมู่  1  บ้านแม่สาบ

437

474

911

344

หมู่  2  บ้านน้ำริน

214

219

433

188

หมู่  3  บ้านห้วยคอก

145

177

322

191

หมู่  4  บ้านศาลา – ป่ากล้วย

210

229

439

198

หมู่  5  บ้านทรายมูล

231

244

475

181

หมู่  6  บ้านแม่ลานคำ

337

287

624

151

หมู่  7  บ้านกองขากหลวง

133

115

248

95

หมู่  8  บ้านกองขากน้อย

79

70

149

53

หมู่  9  บ้านเหล่าแสนตอง

175

175

350

153

หมู่  10  บ้านดงช้างแก้ว

326

267

593

452

หมู่  11  บ้านป่าคา

321

304

625

156

รวม

2,608

2,561

5,169

2,162

หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ 2558, งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัด เทศบาลตำบลสะเมิงใต้

 

2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพ
- การเกษตร เช่น การปลูกกระเทียม มะเขือม่วง ข้าว กล้วย ถั่วเหลือง ข้าวโพด ยาสูบ ฯลฯ
- การปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโค กระบือ สุกร ไก่ ฯลฯ
- การอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร การทำกล้วยฉาบ กล้วย
อบน้ำผึ้ง และการทำดอกไม้ประดิษฐ์

 

2.2 การพาณิชยกรรม และการบริการ
สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
- สถานีน้ำมัน จำนวน 8 แห่ง
(ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง, ปั๊มหลอด 4 แห่ง,ปั๊มหยอดเหรียญ 2 แห่ง)
- ตลาดสดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป จำนวน 50 แห่ง

สถานประกอบการด้านบริการ
- ธนาคาร จำนวน 2 แห่ง
- รีสอร์ท จำนวน 1 แห่ง
- สถานที่จำหน่ายอาหาร ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข จำนวน 16 แห่ง

 

3. สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาสฯ 1 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง

 

3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 80% และศาสนาคริสต์ ประมาณ 20%
- วัด 13 แห่ง
- สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
- โบสถ์ 3 แห่ง

 

3.3 ขนบธรรมเนียมประเพณี
- ประเพณีสรงน้ำพระวัดแสนตอง เดือน เมษายน
- ประเพณีสรงน้ำพระวัดท่าศาลา เดือน เมษายน
- ประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทวัดป่ากล้วย เดือน เมษายน
- ประเพณีปอยหลวง ผ้าป่า กฐิน เดือน พฤศจิกายน

- ประเพณีสืบชะตาบ้าน เดือน เมษายน
- ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า (ให้บรรพบุรุษคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข)
- ประเพณีทำบุญบ้านใหม่ ทุกฤดูกาล
- ประเพณีดำหัวเจ้าพ่อน้ำออกรู เดือน เมษายน
- ประเพณีดำหัวเจ้าพ่อดงช้างแก้ว เดือน เมษายน
- ประเพณีการแข่งบุญบั้งไฟบ้านแม่สาบ เดือน เมษายน

 

3.4 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน - แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2 แห่ง

 

3.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเมิง 1 แห่ง
- รถดับเพลิง 2 คัน
- รถบรรทุกน้ำ 3 คัน
- เครื่องดับเพลิงเคมีแห้ง 70 เครื่อง

 

4. การบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
: ถนนสายหลัก
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน 2 สาย (1) สายอำเภอแม่ริม (2) สายอำเภอหางดง

 

4.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
- จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่ 1,017 หมายเลข
- จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ 12 หมายเลข
- ระบบเสียงตามสาย / หอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

 

4.3 การไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 9 หมู่บ้าน
(หมู่ที่ 1-5,7-10 และหมู่ที่ 6,11 บางส่วน)
- จำนวนหมู่บ้านที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้า 2 หมู่บ้าน
(หมู่ที่ 6,11 บางส่วน)


5. ข้อมูลอื่นๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
: ลักษณะภูมิอากาศ อากาศเย็นสบายตลอดปี
- อุณหภูมิโดยทั่วไป 22 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศาเซลเซียส
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,140 มิลลิเมตร / ปี โดยวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 1,660 มิลลิเมตร / ปี

 

: แหล่งน้ำธรรมชาติ
1. น้ำออกรู เป็นน้ำที่ไหลออกจากภูเขาตามธรรมชาติ จะมีน้ำไหลตลอดปี
2. น้ำตกนางคอย เป็นน้ำตกธรรมชาติ อยู่ห่างจากอำเภอสะเมิงประมาณ 2 กิโลเมตร
คาดว่าจะเป็นต้นกำเนิดของ น้ำออกรู
3. น้ำตกตาดหัวช้าง มีร่องลำธารไหลผ่านหน้าโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม เป็นน้ำตกที่สวยงาม
4. สบสะเมิง (ม.5) เป็นพื้นที่บริเวณน้ำขานที่มีโขดหินอยู่สวยงาม มีหาดทรายขาว

 

: ป่าไม้
1. ป่าเต็งรัง หรือป่าแพะ หรือป่าแดง หรือป่าโคก สภาพพื้นที่ค่อนข้างลาดชันสูง เป็นดินลูกรัง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กระจายทั่วไป พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เป็นต้น
.

2. ป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ ประกอบด้วยไม้สัก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ป่า สัก ตะเคียนหนู มะกอก เป็นต้น